วันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2558

กิจกรรมที่ 5 พ.ร.บ.คอมพิวเตร์ฉบับล่าสุด2558







พ.ร.บ.คอมพิวเอตร์ฉบับล่าสุด 2558

         4 ส.ค. 2558 ถือเป็นการที่ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ใหม่ (ฉบับที่ 2) ปี 2558 จะมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ ส่งผลให้เหล่าผู้ใช้โซเชียลมีเดีย ต้องหันมาคำนึงเกี่ยวกับการเผยแพร่หรือแชร์สื่อต่างๆ บนโลกออนไลน์มากขึ้นกว่าเดิม ทั้งนี้ พ.ร.บ. ดังกล่าว ออกมาเพื่อปราบปรามเหล่าผู้ละเมิดขี้ลอกทั้งหลาย โดยไม่ให้เครดิตเจ้าของงาน ซึ่งมีโทษปรับสูงสุดถึงกว่า 1 แสนบาท อีกทั้งใครที่นำเอาผลงานของผู้อื่นบนโลกออนไลน์ไปใช้แสวงหาผลกำไร มีสิทธิ์ถูกปรับตั้งแต่ 5 หมื่น ถึง 4 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เลยทีเดียว โดยภาครัฐคาดหวังว่าจะเป็นกฎหมายที่คอยคุ้มครองเหล่าผู้สร้างสรรค์ผลงาน (เจ้าของลิขสิทธิ์) รวมถึงสร้างกฏเกณฑ์ให้กับผู้ใช้งานโลกออนไลน์อย่างเป็นระบบระเบียบมากขึ้น
 
(1) คุ้มครองข้อมูลการบริหารสิทธิเพื่อส่งเสริมการเผยแพร่งานอันมีลิขสิทธิ์
        และคุ้มครองสิทธิในข้อมูลที่เจ้าของลิขสิทธิ์ที่ใช้บริหารจัดการสิทธิของตนไม่ให้คนอื่นมาลบหรือเปลี่ยนแปลงโดยไม่ชอบ เช่น การลบข้อมูลเกี่ยวกับชื่อเจ้าของลิขสิทธิ์ ชื่อผู้สร้างสรรค์ ชื่อนักแสดง เป็นต้น โดยหากบุคคลใด ลบ หรือเปลี่ยนแปลง ข้อมูลดังกล่าว ถือว่ามีความผิดฐานละเมิดข้อมูลการบริหารสิทธิ

(2) คุ้มครองมาตรการทางเทคโนโลยีที่เจ้าของลิขสิทธิ์นำมาใช้
          ปกป้องงานอันมีลิขสิทธิ์ของตนเพื่อป้องกันการทำซ้ำหรือการเข้าถึงงานอันมีลิขสิทธิ์ เช่น พาสเวิร์ด (password) ที่เจ้าของลิขสิทธิ์นำมาใช้ในการควบคุมการเข้าถึงงานอันมีลิขสิทธิ์ของตนที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต เป็นต้น โดยหากบุคคลใดทำลายมาตรการทางเทคโนโลยีดังกล่าว โดยเจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ยินยอมถือว่ามีความผิดฐานละเมิดมาตรการทางเทคโนโลยี

(3) กำหนดข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์การทำซ้ำชั่วคราว (Exception for Temporary Reproduction)               
        เพื่อกำหนดให้ชัดเจนว่าการทำซ้ำชั่วคราวโดยความจำเป็นของเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อการเรียกดูงานอันมีลิขสิทธิ์ไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เนื่องจากการดูภาพยนตร์ หรือฟังเพลงจากเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีการทำซ้ำงานเพลงหรือภาพยนตร์ดังกล่าวไว้ในหน่วยความจำ (RAM) ทุกครั้ง ด้วยความจำเป็นทางเทคนิคดังกล่าวทำให้ทุกครั้งที่มีการใช้งานอันมีลิขสิทธิ์จากเครื่องคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้งานจะต้องทำซ้ำงานด้วยเสมอ การทำซ้ำลักษณะนี้เป็นการทำซ้ำชั่วคราว ที่ไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

(4) เพิ่มเติมเรื่องการกำหนดข้อจำกัดความรับผิดของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (Liability Limitation of ISP) 
         เพื่อให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต เช่น เจ้าของเว็บไซต์ Youtube ไม่ต้องเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้องละเมิดลิขสิทธิ์ โดยให้เจ้าของลิขสิทธิ์สามารถร้องขอให้ศาลสั่งให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเอาไฟล์ละเมิดลิขสิทธิ์ออกจากเว็บไซต์ ซึ่งเจ้าของลิขสิทธิ์จะต้องแสดงหลักฐานต่างๆ ต่อศาลอย่างเพียงพอ และเมื่อศาลได้มีคำสั่งให้เอาไฟล์ละเมิดออกจากเว็บไซต์แล้ว และเจ้าของเว็บไซต์ดำเนินการตามคำสั่งศาล เจ้าของเว็บไซต์ไม่ต้องรับผิดเกี่ยวกับการกระทำที่อ้างว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าว

(5) เพิ่มข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์กรณีการจำหน่ายต้นฉบับหรือสำเนางานอันมีลิขสิทธิ์
         โดยนำหลักการระงับไปซึ่งสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา (Exhaustion of Rights) มากำหนดให้ชัดเจนว่าการขายงานอันมีลิขสิทธิ์มือสองสามารถทำได้โดยไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เช่น การขายภาพเขียน หนังสือ ซีดีเพลง ซีดีภาพยนตร์ เป็นต้น อย่างไรก็ดี หากเป็นการขายซีดีภาพยนตร์จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยภาพยนตร์และวีดีทัศน์ด้วย มิฉะนั้น แม้ไม่ผิดตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์ แต่อาจมีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยภาพยนตร์และวีดิทัศน์ได้

(6) เพิ่มเติมเรื่องสิทธิทางศีลธรรมของนักแสดง (Moral Right) 
        เพื่อเพิ่มสิทธิให้นักแสดง มีสิทธิทางศีลธรรมเท่าเทียมกับสิทธิทางศีลธรรมของผู้สร้างสรรค์งานอันมีลิขสิทธิ์ โดยนักแสดงมีสิทธิระบุชื่อตนในการแสดงที่ตนได้แสดง และห้ามไม่ให้บุคคลใดกระทำต่อการแสดงของตนจนทำให้เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียงหรือเกียรติคุณ

(7) เพิ่มบทบัญญัติเรื่องค่าเสียหายในเชิงลงโทษ (Punitive damages)
         โดยกำหนดให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ผู้ละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงจ่ายค่าเสียหายเพิ่มขึ้นไม่เกินสองเท่าของค่าเสียหาย ในกรณีที่ปรากฏหลักฐานชัดแจ้งว่ามีการกระทำโดยจงใจหรือมีเจตนาให้งานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงสามารถเข้าถึงโดยสาธารณชนได้อย่างแพร่หลาย

(8) กำหนดให้ศาลมีอำนาจสั่งริบหรือทำลายสิ่งที่ได้ใช้ในการกระทำละเมิด 
            และสิ่งที่ได้ทำขึ้นหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดง



http://tech.mthai.com/pc-notebook/17011.html


เครดิตข้อมูล http://xn--12cg5c9aoke4a5ce8escb8hpi.com/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%9A-%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%82%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B9%8C-%E0%B8%89%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-2-%E0%B8%9E-%E0%B8%A8-2558/

ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์ กิจกรรมที่ 3



ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์

1. คัดเลือกหัวข้อโครงงานที่สนใจ
2. ศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล
3. จัดทำเค้าโครงของโครงงาน
4. การลงมือทำโครงงาน
5. การเขียนรายงาน
6. การนำเสนอและแสดงโครงงาน



1. คัดเลือกหัวข้อโครงงานที่สนใจ 


      โดยทั่วไปเรื่องที่จะนำมาพัฒนาเป็นโครงงานคอมพิวเตอร์ มักจะได้มาจากปัญหา คำถาม หรือความสนใจในเรื่องต่างๆ จากการสังเกตสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์ หรือสิ่งต่างๆ รอบตัว ปัญหาที่จะนำมาพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์ได้จากแหล่งต่างๆ กัน ดังนี้

1. การอ่านค้นคว้าจากหนังสือ เอกสาร หนังสือพิมพ์ หรือวารสารต่างๆ
2. การไปเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆ
3. การฟังบรรยายทางวิชาการ รายการวิทยุและโทรทัศน์ รวมทั้งการสนทนาอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างเพื่อนนักเรียนหรือกับบุคคลอื่นๆ
4. กิจกรรมการเรียนการสอนในโรงเรียน
5. งานอดิเรกของนักเรียน
6. การเข้าชมงานนิทรรศการหรืองานประกวดโครงงานคอมพิวเตอร์

https://chaiwat31.wordpress.com




2. ศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล


        การศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล ซึ่งรวมถึงการขอคำปรึกษาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จะช่วยให้นักเรียนได้แนวคิดที่ใช้ในการกำหนดขอบเขตของเรื่องที่จะศึกษาได้เฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น รวมทั้งได้ความรู้เพิ่มเติมในเรื่องที่จะศึกษาจนสามารถใช้ออกแบบและวางแผนดำเนินการทำโครงงานนั้นได้อย่างเหมาะสม ในการศึกษาจะต้องได้คำตอบว่า

1. จะทำ อะไร 
2. ทำไมต้องทำ 
3. ต้องการให้เกิดอะไร 
4. ทำอย่างไร 
5. ใช้ทรัพยากรอะไร 
6. ทำกับใคร 
7. เสนอผลอย่างไร 



https://www.google.co.th/search?#imgrc=y_mJLNiwn94EuM%3A



3. จัดทำเค้าโครงของโครงงาน 






4. การลงมือทำโครงงาน 


             เมื่อเค้าโครงของโครงงานได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาแล้ว ก็เสมือนว่าการจัดทำโครงงานได้ผ่านพ้นไปแล้วมากกว่าครึ่ง ขั้นตอนต่อไปจะเป็นการลงมือพัฒนาตามขั้นตอนที่วางแผนไว้ ดังนี้

       4.1 การเตรียมการ 

           การเตรียมการ ต้องเตรียมเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ และวัสดุอื่นๆ ที่จะใช้ในการพัฒนาให้พร้อมด้วย และควรเตรียมสมุดบันทึกหรือบันทึกเป็นแฟ้มข้อความไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ สำหรับบันทึกการทำกิจกรรมต่างๆ ระหว่างทำโครงงาน ได้แก่ ได้ปฏิบัติอย่างไร ได้ผลอย่างไร มีปัญหาและแก้ไขได้หรือไม่อย่างไร รวมทั้งข้อสังเกตต่างๆ ที่พบ

      4.2 การลงมือพัฒนา 

   1. ปฏิบัติตามแผนงานที่วางไว้ในเค้าโครง แต่อาจเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมได้ถ้าพบว่าจะช่วยทำให้ผลงานดีขึ้น
   2. จัดระบบการทำงานโดยทำส่วนที่เป็นหลักสำคัญๆ ให้แล้วเสร็จก่อน จึงค่่อยทำ ส่วนที่เป็นส่วนประกอบหรือส่วนเสริมเพื่อให้โครงงานมีความสมบูรณ์มากขึ้น และถ้ามีการแบ่งงานกันทำ ให้ตกลงรายละเอียดในการต่อเชื่อมชิ้นงานที่ชัดเจนด้วย
   3. พัฒนาระบบงานด้วยความละเอียดรอบคอบ และบันทึกข้อมูลไว้อย่างเป็นระบบและครบถ้วน


4.3 การทดสอบผลงานและแก้ไข
 
       การตรวจสอบความถูกต้องของผลงาน เป็นความจำเป็นเพื่อให้แน่ใจว่าผลงานที่พัฒนาขึ้นทำงานได้ถูกต้องตรงกับความต้องการ ที่ระบุไว้ในเป้าหมายและทำด้วยประสิทธิภาพสูงด้วย


4.4 การอภิปรายและข้อเสนอแนะ 

         เมื่อพัฒนาผลงานเรียบร้อยแล้ว ให้จัดทำสรุปด้วยข้อความที่สั้นกะทัดรัดอย่างครอบคลุม เพื่อช่วยให้ผู้อ่านได้เข้าใจถึงสิ่งที่ค้นพบจากการทำโครงงาน และทำการอภิปรายผลด้วย เพื่อพิจารณาข้อมูลและผลที่ได้ พร้อมกับนำ ไปหาความสัมพันธ์กับหลักการ ทฤษฎี หรือผลงานที่ผู้อื่นได้ศึกษาไว้แล้ว ทั้งนี้ยังรวมถึงการนำหลักการ ทฤษฎี หรือผลงานของผู้อื่นมาใช้ประกอบการอภิปรายผลที่ได้ด้วย

4.5 แนวทางการพัฒนาโครงงานในอนาคตและข้อเสนอแนะ
 
        เมื่อทำโครงงานเสร็จสิ้นลงแล้ว นักเรียนอาจพบข้อสังเกต ประเด็นที่สำคัญ หรือปัญหา ซึ่งสามารถเขียนเป็นข้อเสนอแนะและสิ่งที่ควรจะศึกษาและหรือใช้ประโยชน์ต่อไปได้


https://www.google.co.th/search?&imgrc=QfSYr4-6cPgnGM%3A



5. การเขียนรายงาน

 
          การเขียนรายงานเป็นวิธีการสื่อความหมายเพื่อให้ผู้อื่นได้เข้าใจแนวคิด วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า ข้อมูลที่ได้ ตลอดจนข้อสรุปและข้อเสนอแนะต่างๆ เกี่ยวกับโครงงานนั้น ในการเขียนรายงานนักเรียนควรใช้ภาษาที่อ่านง่าย ชัดเจน กระชับ และตรงไปตรงมา ให้ครอบคลุมหัวข้อต่างๆ



6. การนำเสนอและแสดงโครงงาน 

        การนำเสนอและการแสดงผลงานเป็นขั้นตอนที่สำคัญอีกขั้นตอนหนึ่งของการทำโครงงาน เพื่อแสดงออกถึงผลิตผลความคิด ความพยายามในการทำงานที่ผู้ทำโครงงานได้ทุ่มเท และเป็นวิธีทำให้ผู้อื่นได้รับรู้และเข้าใจถึงผลงานนั้น การเสนอผลงานอาจทำได้ในหลายรูปแบบต่างๆ กัน เช่น การแสดงผลงานโดยไม่มีการอธิบายประกอบการรายงานด้วยคำพูดในที่ประชุม การจัดนิทรรศการโดยโปสเตอร์และอธิบายด้วยคำพูด เป็นต้น

https://www.google.co.th/search?q=8C&imgrc=NOZX59Yu5ZhRtM%3A

เครดิตข้อมูล https://ipattapong.wordpress.com/2011/12/28/




วันอังคารที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ประเภทของโครงาน (กิจกรรมที่2)





ประเภทของโครงงานคอมพิวเตอร์



           1. โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา (Educational Media Development)

           คือโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการผลิตสื่อเพื่อการศึกษา โดยการสร้างโปรแกรมบทเรียนหรือหน่วยการเรียน ซึ่งอาจจะต้องมีภาคแบบฝึกหัด บททบทวน และคำถาม-คำตอบไว้พร้อม ผู้เรียนสามารถเรียนแบบรายบุคคลหรือรายกลุ่มการสอน โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ซึ่งถือว่าคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์การสอน ซึ่งอาจเป็นการพัฒนาบทเรียนแบบออนไลน์ ให้ผู้เรียนเข้ามาศึกษาด้วยตนเองก็ได้ โครงงานประเภทนี้สามารถพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ประกอบการสอนในวิชาต่าง ๆ โดยผู้เรียนอาจคัดเลือกเนื้อหาที่เข้าใจยาก มาเป็นหัวข้อในการพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา ตัวอย่างโครงงาน เช่น การเคลื่อนที่แบบโปรเจ็กไตล์ ระบบสุริยจักรวาล ตัวแปรต่าง ๆ ที่มีผลต่อการชำกิ่งกุหลาบ หลักภาษาไทย และสถานที่สำคัญของประเทศไทย เป็นต้น 

             ตัวอย่างเช่น สื่อมัลติมีเดียเรื่องระบบหมุนเวียนโลหิตและเส้นเลือดสำคัญของร่างกาย




           2. โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน (Application) 

           คือ โครงงานประยุกต์ใช้งาน เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการสร้างผลงานเพื่อประยุกต์ใช้งานจริงในชีวิตประจำวัน อาทิเช่น ซอฟต์แวร์สำหรับการออกแบบและตกแต่งภายในอาคาร ซอฟต์แวร์สำหรับการผสมสี และซอฟต์แวร์สำหรับการระบุคนร้าย เป็นต้น โครงงานประเภทนี้จะมีการประดิษฐ์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ หรืออุปกรณ์ใช้สอยต่าง ๆ ซึ่งอาจเป็นการคิดสร้างสิ่งของขึ้นใหม่ หรือปรับปรุงเปลี่ยนแปลงของเดิมที่มีอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น โครงงานลักษณะนี้จะต้องศึกษาและวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้ก่อน แล้วนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการออกแบบและพัฒนาสิ่งของนั้น ๆ ต่อจากนั้นต้องมีการทดสอบการทำงานหรือทดสอบคุณภาพของสิ่งประดิษฐ์แล้วปรับ ปรุงแก้ไขให้มีความสมบูรณ์ โครงงานประเภทนี้ผู้เรียนต้องใช้ความรู้เกี่ยวกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ภาษาโปรแกรม และเครื่องมือต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
       ตัวอย่างเช่น การสร้างโปรแกรมตรวจสอบข้อมูลโทรศัพท์หาย โปรแกรมตรวจสอบสภาพจราจร



           3. โครงงานพัฒนาเกม (Game Development) 

          โครงงานประเภทนี้เป็นโครงงานพัฒนา ซอฟต์แวร์เกมเพื่อความรู้หรือเพื่อความเพลิดเพลิน เกมที่พัฒนาควรจะเป็นเกมที่ไม่รุนแรง เน้นการใช้สมองเพื่อฝึกคิดอย่างมีหลักการ โครงงานประเภทนี้จะมีการออกแบบลักษณะและกฎเกณฑ์การเล่น เพื่อให้น่าสนใจแก่ผู้เล่น พร้อมทั้งให้ความรู้สอดแทรกไปด้วย ผู้พัฒนาควรจะได้ทำการสำรวจและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเกมต่าง ๆ ที่มีอยู่ทั่วไป และนำมาปรับปรุงหรือพัฒนาขึ้นใหม่ เพื่อให้เป็นเกมที่แปลกใหม่ และน่าสนใจแก่ผู้เล่นกลุ่มต่าง ๆ
                                             ตัวอย่างเช่น โครงงานเกมซุโดกุ เกมกาแลคซี่ให้โชค



           4. ครงงานพัฒนาเครื่องมือ (Tools Development) 

          โครงงานประเภทนี้เป็นโครงงานเพื่อพัฒนาเครื่องมือช่วยสร้างงานประยุกต์ต่าง ๆ โดยส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปซอฟต์แวร์ เช่น ซอฟต์แวร์วาดรูป ซอฟต์แวร์พิมพ์งาน และซอฟต์แวร์ช่วยการมองวัตถุในมุมต่าง ๆ เป็นต้น สำหรับซอฟต์แวร์เพื่อการพิมพ์งานนั้นสร้างขึ้นเป็นโปรแกรมประมวลคำ ซึ่งจะเป็นเครื่องมือให้เราใช้ในการพิมพ์งานต่าง ๆ บนเครื่องคอมพิวเตอร์ ส่วนซอฟต์แวร์การวาดรูป พัฒนาขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้การวาดรูปบนเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นไปได้โดยง่าย สำหรับซอฟต์แวร์ช่วยการมองวัตถุในมุมต่าง ๆ ใช้สำหรับช่วยการออกแบบสิ่งของ อาทิเช่น ผู้ใช้วาดแจกันด้านหน้า และต้องการจะดูว่าด้านบนและด้านข้างเป็นอย่างไร ก็ให้ซอฟต์แวร์คำนวณค่าและภาพที่ควรจะเป็นมาให้ เพื่อพิจารณาและแก้ไขภาพแจกันที่ออกแบบไว้ได้อย่างสะดวก
        ตัวอย่างเช่น โปรแกรมผสมสีและออกแบบบ้าน หรือโปรแกรม Doramon Browser สำหรับผู้พิการทางมือ

           5. โครงงานจำลองทฤษฏี (Theory Simulation)

             โครงงานประเภทนี้เป็นโครง งานที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการจำลองการทดลองของสาขาต่าง ๆ ซึ่งเป็นงานที่ไม่สามารถทดลองด้วยสถานการณ์จริงได้ เช่น การจุดระเบิด เป็นต้น และเป็นโครงงานที่ผู้ทำต้องศึกษารวบรวมความรู้ หลักการ ข้อเท็จจริง และแนวคิดต่าง ๆ อย่างลึกซึ้งในเรื่องที่ต้องการศึกษาแล้วเสนอเป็นแนวคิด แบบจำลอง หลักการ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของสูตร สมการ หรือคำอธิบาย พร้อมทั้งการจำลองทฤษฏีด้วยคอมพิวเตอร์ให้ออกมาเป็นภาพ ภาพที่ได้ก็จะเปลี่ยนไปตามสูตรหรือสมการนั้น ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น การทำโครงงานประเภทนี้มีจุดสำคัญอยู่ที่ผู้ทำต้องมีความรู้ในเรื่องนั้น ๆ เป็นอย่างดี ตัวอย่างโครงงานจำลองทฤษฎี เช่น การทดลองเรื่องการไหลของของเหลว การทดลองเรื่องพฤติกรรมของปลาปิรันย่า และการทดลองเรื่องการมองเห็นวัตถุแบบสามมิติ เป็นต้น

        ตัวอย่างเช่น การจำลองวิถีกระสุนที่ยิงจากตึกสูง หรือ การจำลองทฤษฏีรวมโมเลกุล


http://www.krujintana.com/content/unit9.html


องค์ความรู้เกี่ยวข้องกับโครงงานคอมพิวเตอร์ ( กิจกรรมที่ 1)




                                                      ความหมายคอมพิวเตอร์                                                   

          โครงงานคอมพิวเตอร์เป็นกิจกรรมการเรียนที่นักเรียนมีอิสระในการเลือกศึกษาปัญหาที่ตนสนใจ โดยนักเรียนจะต้องวางแผนการดำเนินงาน ศึกษา พัฒนาโปรแกรม หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องหรือ กิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ ผู้เรียนได้ทำการศึกษาค้นคว้าและฝึกปฏิบัติด้วยตนเองตามความสามารถ ความถนัด และความสนใจ โดยอาศัยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มีผลกระทบต่อความเจริญก้าวหน้าของทุก ๆ สังคมในโลกปัจจุบันนี้ เทคโนโลยีด้านนี้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จึงเป็นเรื่องยากที่ประชาชนจะคอยติดตามความก้าวหน้าอยู่ตลอดเวลาและเป็นสิ่ง ที่ไม่เกิดประโยชน์คุ้มค่า ดังนั้นการศึกษาเทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์จึงต้องศึกษาหลักการและเนื้อหาพื้น ฐานเป็นสำคัญ

www.chakkham.ac.th

   




ความสำคัญของโครงานคอมพิวเตอร์

โครงงานคอมพิวเตอร์เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่ทำให้ผู้เรียนเกิดความสามารถในด้านต่าง ๆ ที่สำคัญ 5 ประการ ดังนี้


                 1.ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถที่เกิดจากการที่นักเรียนเป็นผู้ทำโครงงานต้องนำเสนอผลงานให้ ครูและเพื่อนนักเรียนให้เข้าใจโครงงานคอมพิวเตอร์ได้อย่างชัดเจน ดังนั้น ผู้ทำโครงงานต้องสื่อสารความคิดในการสร้างสรรค์โครงงานด้วยการเขียน หรือด้วยปากเปล่า รวมทั้งเลือกใช้รูปแบบของสื่ออย่างมีประสิทธิภาพเพื่อนำเสนอแนวคิดในการจัด โครงงานให้ผู้อื่นได้เข้าใจ
  
                2.ความสามารถในการคิด ซึ่งผู้เรียนจะมีการคิดในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้
การคิดวิเคราะห์ เกิดจากการที่ผู้เรียนต้องวิเคราะห์ปัญหาและแยกแยะสาเหตุว่าเกิดเนื่องจากอะไร
การคิดสังเคราะห์ เกิดจากการที่ผู้เรียนต้องนำความรู้ต่าง ๆ ที่เรียนมา รวมทั้งความรู้จากการค้นหาข้อมูล เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาหรือการสร้างสรรค์โครงงาน

                 3.ความสามารถในการแก้ปัญหา เกิดจากการที่ผู้เรียนวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจ และอธิบายปัญหาทางด้านคอมพิวเตอร์ รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหา
                 4.ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต เกิดจากการที่ผู้เรียนได้นำความรู้และกระบวนการต่าง ๆ ไปใช้ในการพัฒนาโครงงาน และนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม รวมถึงการพัฒนาโครงงาน ก่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง อันนำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต
           
                 5.ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เกิดจากการที่ผู้เรียนสามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการแก้ปัญหาได้ อย่างถูกต้องเหมาะสม และมีคุณธรรม


https://krudarin.wordpress.com







ขอบข่ายของโครงงาน

1. เป็นกิจกรรมการเรียนให้นักเรียนศึกษา ค้นคว้า ปฏิบัติดัวยตนเองโดยอาศัยหลักวิชาการทางทฤษฎีตามเนื้อหาโครงงานนั้นๆ หรือจากประสบการณ์และกิจกรรมต่าง ๆ ที่ได้พบเห็นมากแล้ว

2. นักเรียนทุกคนพิจารณาจัดทำโครงงานด้วยตนเอง หรือเป็นกลุ่มโดยใช้ระยะเวลาสั้นๆ เป็นภาคเรียน หรือมากว่าก็ได้ แล้วแต่โครงงานเล็กหรือใหญ่
3. นักเรียนเป็นผู้พิจารณาริเริ่มสร้างสรรค์ คัดเลือกโครงงานที่จะศึกษาค้นคว้าปฏิบัติด้วยตนเองตามความถนัด สนใจ และความพร้อม
4. นักเรียนเป็นผู้เสนอโครงงาน รายละเอียดของโครงงาน แผนปฏิบัติงานและการแปลผล รายงานผลต่ออาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อดำเนินงานร่วมกันให้บรรลุตามจุดหมายที่กำหนดไว้

5. เป็นโครงงานที่เหมาะสมกับความรู้ ความสามารถของนักเรียนตามวัยและสติปัญญา รวมทั้งการใช้จ่ายเงินดำเนินงานด้วย

http://thanapongkiatsujja.blogspot.com/2012/07/3.html





รูปภาพ

https://www.google.co.th/search?q=%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C&biw=1600&bih=799&source=lnms&tbm=isch&sa=X&sqi=2&ved=0CAYQ_AUoAWoVChMItcq4m-_txgIVwxumCh3fswcL#tbm=isch&q=%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C&imgrc=_











https://www.youtube.com/watch?v=DjONgZ3BxXs






วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ข้อสอบ 7 วิชาสามัญ








คำถาม :: ทำไม สทศ จึงจัดสอบ 7 วิชาสามัญ

ตอบ :: สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ได้รับมอบหมายจากที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทยให้จัดการทดสอบวิชาสามัญเพื่อให้มหาวิทยาลัยต่างๆ นำคะแนนไปใช้ประกอบการรับบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาในระบบรับตรงผ่านเคลียริ่งเฮ้าส์ (Clearing House)
 คำถาม :: 7 วิชาสามัญมีกี่วิชา  วิชาอะไรบ้าง

ตอบ::  7 วิชาสามัญ มี 7 วิชา คือ
           
                  ภาษาไทย  สังคม ภาษาอังกฤษ  คณิตศาสตร์   ชีวะ  เคมี ฟิสิกส์




ข้อสอบ 7 วิชาสามัญ (ปี 2555-2557)


ข้อสอบ 7 วิชาสามัญ ปี 2555 (สอบ ม.ค. 2555)

- คณิตศาสตร์ คลิกที่นี่ + เฉลย คลิกที่นี่

เคมี + เฉลย คลิกที่นี่

- ชีววิทยา คลิกที่นี่

- ภาษาไทย คลิกที่นี่

- สังคมศึกษา คลิกที่นี่

- ภาษาอังกฤษ คลิกที่นี่ + เฉลย คลิกที่นี่



ข้อสอบ 7 วิชาสามัญ ปี 2556 (สอบ ม.ค. 2556)

- คณิตศาสตร์ คลิกที่นี่ + เฉลย ตอนที่ 1 คลิกที่นี่ ตอนที่ 2 คลิกที่นี่

- ฟิสิกส์ + เฉลย คลิกที่นี่

- เคมี คลิกที่นี่

- ชีววิทยา คลิกที่นี่

- ภาษาไทย คลิกที่นี่

- สังคมศึกษา คลิกที่นี่

- ภาษาอังกฤษ + เฉลย คลิกที่นี่




ข้อสอบ 7 วิชาสามัญ ปี 2557 (สอบ ม.ค. 2557)

- คณิตศาสตร์ คลิกที่นี่ + เฉลย คลิกที่นี่

- ฟิสิกส์ คลิกที่นี่

- เคมี คลิกที่นี่ + เฉลย คลิกที่นี่

- ชีววิทยา คลิกที่นี่

- ภาษาไทย คลิกที่นี่

- สังคมศึกษา คลิกที่นี่

- ภาษาอังกฤษ คลิกที่นี่

cr. http://p-dome.com/7-w-55-57/  (ข้อสอบ)

cr. https://www.google.co.th/search?hl=th&site=imghp&tbm=isch&source=hp&biw=1366&bih=640&q= (รูปภาพ)




ความพยายามครั้งที่ 100 ดีกว่าคิดท้อถอยก่อนที่จะทำ



นะนำเกี่ยวกับ 7 วิชาสามัญ


cr. https://www.youtube.com/watch?v=pgkH2zhLTOo





วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ค่านิยม 12 ประการ




ค่านิยม 12  ประการ




1. มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ 
      

         

2. ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน มีอุดมการณ์ในสิ่งที่ดีงามเพื่อส่วนรวม




3. กตัญญูต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์




4. ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษาเล่าเรียนทั้งทางตรง และทางอ้อม







5. รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทยอันงดงาม





6. มีศีลธรรม รักษาความสัตย์ หวังดีต่อผู้อื่น เผื่อแผ่และแบ่งปัน






7. เข้าใจเรียนรู้การเป็นประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ถูกต้อง






8. มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย ผู้น้อยรู้จักการเคารพผู้ใหญ่





9. มีสติรู้ตัว รู้คิด รู้ทำ รู้ปฏิบัติตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว




10. รู้จักดำรงตนอยู่โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัว รู้จักอดออมไว้ใช้เมื่อยามจำเป็น มีไว้พอกินพอใช้ ถ้าเหลือก็แจกจ่ายจำหน่าย และพร้อมที่จะขยายกิจการเมื่อมีความพร้อม เมื่อมีภูมิคุ้มกันที่ดี



11. มีความเข้มแข็งทั้งร่างกาย และจิตใจ ไม่ยอมแพ้ต่ออำนาจฝ่ายต่ำ หรือกิเลส มีความละอายเกรงกลัวต่อบาปตามหลักของศาสนา




12. คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวม และของชาติมากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง







cr.  http://kiddyapps.net/ (รูปภาพ)
cr. http://www.mnre.go.th/ewt_news.php?nid=3230 (เนื้อหา)
cr. http://personnel.obec.go.th/personnel/index.php?option=com_content&view=article&id=664:------12-&catid=13:2011-08-11-05-13-55  (เนื้อหา)

วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ใบงานที่ 4 พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ 2550





พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ 2550


       เนื่องจากพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้การประกาศใช้ในวันที่ 19 กรกฎาคม 2550 ในด้านของการศึกษา โดยเฉพาะการผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก ในฐานะผู้ออกแบบและพัฒนานั้นจะต้องคำนึงถึงความถูกต้องเป็นสำคัญ จึงจำเป็นต้องรู้กฎหมาย และมีความรอบคอบในการทำงานและระวังให้มากขึ้น





จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้
1. เจ้าของเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่อนุญาตให้เข้าระบบคอมพิวเตอร์ของเขา ถ้าเราแอบเข้าไป
       =จำคุก 6 เดือน

2. เจาะเข้าระบบคอมพิวเตอร์ของคนอื่น แล้วเผยแพร่ให้คนอื่นรู้   
=จำคุกไม่เกินปี

3. แอบเข้าไปล้วงข้อมูลส่วนบุคคลที่เก็บเอาไว้ในระบบคอมพิวเตอร์
=จำคุกไม่เกิน 2 ปี

4. ข้อมูลที่ถูกส่งหากันผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แล้วไปดักจับข้อมูลของเขา
=จำคุกไม่เกิน 3 ปี

5. ข้อมูลที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ ถ้ามีไปตัfต่อ ดัดแปลง …
=จำคุกไม่เกิน 5 ปี 
                               (ดังนั้นอย่าไปแก้ไขงานเอกสารที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์คนอื่น)

6. ปล่อย Multiware เช่น virus, Trojan, worm เข้าระบบคอมพิวเตอร์คนอื่นแล้วระบบเข้าเสียหาย
 =จำคุกไม่เกิน 5 ปี

7. ถ้าเราทำผิดข้อ 5. กับ ข้อ 6. และสร้างความเสียหายใหญ่โต เช่น เข้าไปดัดแปลงแก้ไข ทำลาย ก่อกวน ระบบสาธารณูปโภค หรือระบบจราจร ที่ควบคุมโดยคอมพิวเตอร์
=จำคุก10 ปีขึ้น

8. ถ้ารบกวนโดยการส่ง email โฆษณาต่างๆไปสร้างความรำคาญให้ผู้อื่น
= ปรับไม่เกิน100,000 บาท

9. ถ้าเราสร้างโปรแกรม หรือซอฟต์แวร์เพื่อเพื่อสนับสนุนผู้กระทำความผิด
=จำคุกไม่เกินปีนึง

10. ส่งภาพโป๊ , ประเด็นที่ไม่มีมูลความจริง, ท้าทายอำนาจรัฐ
=จำคุกไม่เกิน 5 ปี

11. เจ้าของเว็บไซด์โหรือเครือข่ายที่ยอมให้เกิดข้อ 10. โดนลงโทษด้วย
= จำคุกไม่เกิน 5 ปี

12. ชอบเอารูปคนอื่นมาตัดต่อ
=จำคุกไม่เกิน 3 ปี







cr. http://www.site.rmutt.ac.th/cuemedia/act-com2550/conclude-act50/ (เนื้อหา)

cr.https://www.google.co.th/search?
q=%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%9A+%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C&biw=1600&bih=799&source=lnms&tbm=isch&sa=X&ei=Si-KVe6gNc7juQTU24OYDA&sqi=2&ved=0CAYQ_AUoAQ#imgrc=_
(รูปภาพ)




สารพัดประโยชน์ของกล้วย


สารพัดประโยชน์ของกล้วย


"กล้วย" เป็นพืชที่ขึ้นทั่วๆ ไปในเขตร้อน โดยเฉพาะในบ้านเราประเทศไทยมีความคุ้นเคยกันมาแต่โบร่ำโบราณ คนไทยสมัยก่อนปลูกเป็นไม้ประจำ "บ้าน" เลยทีเดียว มีแทบทุกบ้านช่อง เพื่อใช้ประโยชน์สารพัดที่ผู้เขียนคุ้นเคยมากๆ เมื่อ 50-60 ปีที่ผ่านมา ปู่ ย่า ตา ยาย คุณพ่อ คุณแม่สมัยก่อนจะนิยมใช้เป็นอาหารเลี้ยงทารก
                     "กล้วย" จัดเป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี มี "ลำต้น" อยู่ใต้ดินที่เราเรียกกันว่า "หน่อกล้วย" ส่วนที่เหนือต้นเป็นลำต้นเทียม เกิดจากภายในห่อหุ้มซ้อนกัน มีลักษณะคล้ายเป็นลำต้นใบเดียวขนาดใหญ่ออกเรียงเวียนสลับกันรูปขอบขนาน ปลายตัด ขอบเวียน เส้นกลางใบแข็งมีเส้นใยจำนวนมากออกจากเส้นกลางไปทั้ง 2 ข้าง ขนานกันไปจรดขอบใน ก้านใบยาวเป็นส่วน ดอกออกเป็นช่อเรียกว่า "ปลี" ห้อยลง ก้านช่อดอกแข็ง ดอกย่อยแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน
          ดอกเพศเมียจะอยู่ตอนล่างของช่อดอกและบานก่อน แต่ละช่อย่อยจะรองรับด้วยใบประดับขนาดใหญ่สีม่วงแดง (กาบปลี) ดอกย่อยรูปทรงกระบอก มีกลีบดอก 6 กลีบ มี 1 กลีบเดี่ยวขนาดเล็ก ที่เหลืออีก 5 กลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอดปลายแยกเป็น 5 แฉก "ผล" ทรงกระบอกหรือมีเหลี่ยมเล็กน้อย เปลือกหนาสีเขียว เมื่อสุกเปลือกจะมีสีเหลือง มีรสหวานรับประทานได้
          ส่วน "ผลดิบ" ใช้เป็นยาสมุนไพร รักษาอาการจุกเสียดและอาการท้องเสีย "กล้วย" เป็นพืชที่มีคุณค่า เป็นพืชประจำครัวเรือน ยังมีคำคำหนึ่งที่เป็นมงคลว่า ปลูกเอาไว้หน้าบ้านหรือหลังบ้านก็ได้ จะทำอะไรก็ให้สำเร็จง่ายๆ แบบ "กล้วยๆ" กล้วยเป็นพืชใช้ประโยชน์ได้สารพัดทุกๆ ส่วนของกล้วย นอกจากเป็นอาหารแล้ว ลำต้น ใบ...และอื่นๆ มีคุณค่า ได้แก่ ส่วนที่ใช้ผลดิบ ผลสุก หัวปลี ผล ใบ และราก คุณค่าทางโภชนาการให้คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน กากไฟเบอร์ กรดอะมิโน วิตามินเอ บี ซี แคลเซียม เหล็ก โพแทสเซียม ทองแดง แทนนิน



สรรพคุณและการใช้ประโยชน์
         ผลดิบ : ใช้ป้องกันและรักษาแผลในกระเพาะอาหาร รักษาท้องเสียเรื้อรัง อาหารไม่ย่อย โดยหั่นทั้งเปลือกเป็นแว่นตากแห้งแล้วบดเป็นผง ปั้นเป็นเม็ดหรือชงในน้ำร้อนดื่ม ใช้ครั้งละประมาณเท่ากับกล้วยครึ่งซีกหนึ่งผล หรือนำผลมาใช้โรยรักษาแผลเน่าเปื่อย แผลติดเชื้อ แผลเรื้อรัง
         ผลสุก : ช่วยขับถ่ายระบายท้อง มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียและเชื้อรา แก้ท้องผูก บำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง รักษาแผลในกระเพาะอาหาร
         กล้วยสุก ผู้เขียนเองมีประสบการณ์ตรง รับประทานวันละ 1-2 ผล อาทิตย์กิน 2-3 วัน ช่วยขับถ่ายได้ดี ท้องไม่อืดไม่เฟ้อ "ต้นแบบ" ที่ผู้เขียนสัมผัสมาคือท่านหลวงพ่อจรัญ ฐิตธฺมโม เจ้าอาวาสวัดอัมพวัน ท่านฉันกล้วยน้ำว้าสุกทุกวัน วันละ 1-2 ผล ขณะนี้อายุ 85 ปีแล้วแข็งแรงดี ผิวพรรณผ่องใส หลวงพ่อบอกท้องไม่อืด ขับถ่ายดีมาก สบายดี ที่สำคัญคือ ผู้เขียนประทับใจที่ท่านมีผิวพรรณ "เปล่งปลั่ง" เสมอ น่าสนใจ

กล้วยสามารถนำมาทำเป็นอาหารคาวหวานได้



Cr. https://www.youtube.com/watch?v=p3fPPFNLaCE

         เปลือกผลดิบ : ใช้สมานแผล
         หัวปลี : แก้โรคลำไส้ แก้โลหิตจาง ลดน้ำตาลในเลือด แก้ร้อนในกระหายน้ำ บำรุงน้ำนม บำรุงโลหิต คั้นน้ำบำรุงโลหิตแก้ถ่ายเป็นมูกเลือด

   


ยาง : ใช้สมานแผล ห้ามเลือด
   ใบ : ใช้ต้มอาบแก้เม็ดผดผื่นคัน ปิ้งปิดแผลไฟไหม้




 ราก ต้มดื่มแก้ร้อนใน กระหายน้ำ แก้ไอ ท้องเสีย แก้บิด แก้ผื่นคัน
 กาบต้น ลำต้นใช้ทำเชือก ทำแพ เลี้ยงหมู และประเพณีลอยกระทง ใช้ทำกระทงลอยน้ำ


  สิ่งมหัศจรรย์ของกล้วย
 สิ่งอื่นที่ควรต้องรู้เพิ่มเติมคือ สารสำคัญๆ ฤทธิ์ทางเภสัช อาหารเป็นพิษผลข้างเคียงอื่นๆ เพราะอะไรที่มีประโยชน์ก็ต้องมีโทษที่เราควรต้องรู้ จะได้ "พึงระวัง ป้องกัน ไม่ให้เกิดกับตัวเรา"
          สารสำคัญที่มีอยู่ใน "กล้วย" คือ "สารแทนนิน" มีฤทธิ์ฝาดสมาน ใช้แก้อาการท้องเสียได้ สาร Sitoindoside เป็นกลุ่มสเตียรอยด์ (Steriod) เพราะฉะนั้น การใช้ระยะยาวจึงต้องระมัดระวัง เนื่องจากยังไม่มีผู้ศึกษาพิษเรื้อรังของสารกลุ่มนี้
          ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา : สิ่งที่ไม่น่าเชื่อเลยว่า "กล้วย" คนส่วนใหญ่ที่กินกันเป็นประจำ นอกจากจะซื้อหาง่าย ราคาถูก สะดวกกิน ยังส่งผลในการได้รับวิตามิน ท้องไม่อืด ในเรื่องระบายท้องเป็นหลัก กล้วยยังมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของท้องเสียที่ทำให้เกิดโรคไทฟอยด์อีกด้วย
cr. http://www.thaihealth.or.th/Content/ (เนื้อหา)
cr. https://www.google.co.th/search?hl=th&site=imghp&tbm=isch&source=hp&biw=1600&bih=799&q= (รูปภาพ)

วันอังคารที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ความรู้เรื่อง bolgger

ความรู้เกี่ยวกับบล็อก

cr.https://www.google.co.th/search?


ความหมายของคำว่า  Blog
            Blog  คือ การบันทึกบทความของตนเอง (Personal  Korunal)  ลงบนเว็บไซต์  โดยเนื้อหาของ  blog  นั้นจะครอบคลุมได้ทุกเรื่อง  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องส่วนตัว  การมองโลกของเรา  ความคิดเห็นของเราต่อเรื่องต่าง ๆ หรือเป็นบทความเฉพาะด้าน  เช่น  เรื่องการเมือง  เรื่องกล้องถ่ายรูป  เรื่องกีฬา  เรื่องธุรกิจ
            Blog  มาจากคำว่า  WeBlog  บางคนอ่านว่า  We Blog  บางคนอ่านว่า  Web Log  แต่ทั้งหมาดคือ  Blog  ซึ่งหมายถึง  การบันทึกบทความของตนเอง (อาจเป็นอักษร  รูปภาพ  มัลติมีเดีย)  ลงบนเว็ปผ่านเครือข่ายอินเตอร์เนต  เพื่อเผยแพร่ให้ผู้อื่นได้รับทราบ  Blog หรือ  Web Blog  เป็นการสื่อสารสองทางระหว่างผู้เขียนและผู้อ่าน  โดยผู้อ่านสามารถโต้ตอบได้โดยการ  comment  

cr. https://www.google.co.th/search?hl=th&site=imghp&tbm
Web blog คืออะไร               
                BlogGang  คือ "Wgeb lo" หรือเรียกสั้นๆ ว่า "blog" ชื่อดังกล่าวเริ่มใช้เมื่อเดือนธันวาคม 
ปี 1997 โดยผู้ที่คิดชื่อนี้คือ Jorn Barger "weblog" (เว็บ Blog) หมายถึงเว็บไซต์ส่วนตัว ที่ผู้สร้างหรือที่
เรียกว่า blogger จัดทำขึ้นเพื่อเป็นที่บอกเล่าเรื่องราว สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน รวมทั้งแลก
เปลี่ยนความคิดเห็น เสนอบทความใหม่ๆ วิจารณ์ข่าวสารบ้านเมือง หรืออื่นๆ ที่ผู้ใช้เห็นว่าน่าสนใจ 
พร้อมกันนั้น ยังเปิดให้ผู้เยี่ยมชมได้สามารถแสดงความคิดเห็นต่อ topic ต่างๆ ที่ได้ตั้งขึ้นอีกด้วย
บล็อก (อังกฤษ: blog) หรือ เว็บล็อก (weblog)เป็นหน้าเว็บประเภทหนึ่ง ซึ่งคำว่า blog ย่อมาจากคำ
ว่า weblog หรือ weblog โดยคำว่า weblog นั้นมาจาก web (เวิลด์ไวด์เว็บ) และ log (ปูมบันทึก)
 รวมกัน หมายถึง บันทึกบนเวิล์ดไวด์เว็บ นั่นเองในปัจจุบันบล็อก ถูกใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารรูปแบบใหม่
 ไม่ว่าจะเป็นการประกาศข่าวสาร การแสดงความคิดเห็น การเผยแพร่ผลงาน ฯลฯ และกำลังเป็นที่นิยม
มากขึ้นเรื่อย ๆ โดยขณะนี้ได้มีผู้ให้บริการบล็อกมากมาย ทั้งแบบให้บริการฟรี และเสียค่าใช้จ่าย 
     สรุปง่ายๆ Blog ก็คือ 
Website รูปแบบหนึ่ง ที่มีการจัดเรียง เรื่อง” หรือ postเรียงลำดับ โดยเรื่องใหม่จะอยู่บนสุด ส่วนเรื่อง
เก่าสุดก็จะอยู่ด้านล่างสุด  Blog อาจจะพัฒนาขึ้นมาอีกขั้นของ ไดอารี่ online ก็เป็นได้ โดย Blog จะ
เป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไรก็ได้ ไม่จำกัด ซึ่ง ไดอารี่ ก็ถือว่าเป็น Blogในรูปแบบหนึ่งBlog ส่วนใหญ่มักจะ
เขียนโดยคนเพียงคนเดียว แต่ก็มีไม่น้อยที่เขียนเป็นกลุ่ม โดยอาจจะมีเรื่องราวเฉพาะไปที่ๆเรื่องประเภท
เดียว หรือบางทีก็หลากหลาย ซึ่งส่วนใหญ่เรื่องราวที่เขียนขึ้นมานาน จะถูกเก็บรวบรวม
เป็น Archives เก็บไว้ โดยมักจะแสดงผลเป็น link ในรูปแบบ วันเดือนปี เพื่อให้เราสามารถกดเข้าไปดู
ได้ ก็ไม่ต้องตกใจว่าที่หน้าแรกของ Blog บางทีก็มีเรื่องแสดงแค่ 10 เรื่องก็หมดแล้ว เพราะบางที
ใน Archives อาจมีเรื่องอยู่ในนั้นอีกเป็นร้อยๆ โดยที่เราต้องเข้าไปดูBlog มักจะมาคู่กับ
ระบบ Comment ที่เปิดโอกาสให้คนอ่าน สามารถ Comment ข้อความต่อท้ายในเรื่องที่เรา post ได้ 
คล้ายๆรูปแบบของWebboard ไม่ว่าจะเป็นติชม แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม หรือบอกแหล่งข้อมูลใหม่ๆ
 หรืออาจจะแค่ทักทายเจ้าของ ฺBlog ก็เป็นได้ ถ้าคุณลองเลื่อนไปดูด้านล่างของเรื่องนี้ จะพบช่องให้
กรอก Comment ทิ้งข้อความไว้ให้ผมได้Blog อาจจะมีบริการทั้งเสียเงิน และไม่เสียเงิน ขึ้นอยู่กับรูป
แบบของการให้บริการ ซึ่งมักจะติดตั้งTool ให้เราสามารถใช้งานได้ง่ายๆ โดยที่ไม่จำเป็นต้องมีความรู้
ด้านคอมพิวเตอร์มากมายนัก โดยส่วนใหญ่แล้ว Blog หลายๆที่มักจะให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์และลึก 
เนื่องจากเจ้าของ Blog มักจะนำข้อมูลที่ตัวเองรู้ หรือประสบการณ์มาถ่ายทอด โดยค่อนข้างเป็น
กันเอง   แต่ในปัจจุบัน บริษัทใหญ่ๆ ก็หันมามี Blog เป็นของตัวเองกันมาก ไม่ว่าจะ
เป็น Google , Yahoo เพราะ Blog สามารถทำตัวเป็น PR ให้กับบริษัทได้ โดยสร้างความรู้สึกเป็นกันเอง
 ไม่มีพิธีอะไรมาก สามารถสื่อสารกับลูกค้าได้โดยตรง โดยไม่ต้องเป็นทางการมากนัก และลูกค้าก็ชอบ
ที่จะติดต่อสื่อสารผ่านทาง Blog ด้วย
cr.http://iam.hunsa.com/hlubkuv/article/26739                 
cr. https://www.google.co.th/search?hl=th&site=imghp&tbm

บล็อก (BLOG)  คืออะไร
บล็อกมาจากการผสมคำระหว่าง  WEB ( Wolrd Wide Web) +LOG (บันทึก)  = BLOG  คือ เว็บไซต์ที่
เจ้าของ หรือ Blogger สามารถบันทึกเรื่องราวของตนเองลงในเว็บได้ตลอดเวลา  การสร้างเว็บบล็อ
สามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยตัวเอง ไม่ซับซ้อน ไม่เสียสตางค์ ไม่จำเป็นต้องรู้ภาษา HTML อย่างน้อยขอให้มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตและเว็บไซต์

   ภายในเว็บบล็อก จะมีระบบบริหารจัดการเว็บไซต์พื้นฐานให้แล้ว โดยการสร้างเครื่องมือสำหรับ เขียนเรื่อง โพสรูป จัดหมวดหมู่ และลูกเล่นอื่นๆ ที่ผู้จัดทำพยายามสร้างเพื่อดึงดูดผู้คนจากทั่วโลก ให้เข้าไปใช้บริการ เสน่ห์ของบล็อกอยู่ที่ผู้อ่านและผู้เขียนสามารถโต้ตอบกันได้ (Interactive) โดยการแสดงความคิดเห็นต่อท้ายที่เรื่องนั้นๆ

    บางคนมองว่าการเขียนบล็อก ก็คือการเขียนไดอารี่ออนไลน์ แท้ที่จริง ไดอารี่ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของบล็อกเท่านั้น คุณเปิดบล็อกขึ้นมาไม่ใช่เพื่อเขียนเรื่องราวในชีวิตประจำวันอย่างเดียว แต่สามารถใส่ความรู้ ประสบการณ์ เพื่อเป็นวิทยาทานให้คนอื่นๆ เช่น คุณหมอ เปิดบล็อกแนะนำเรื่องสุขภาพ เป็นต้น
บล็อก คือ สื่อใหม่ (New Media) เป็นปรากฎการณ์ที่เปลี่ยนรูปแบบการสื่อสารในอดีตอย่างสิ้นเชิง คนเขียนบล็อก สามารถทำหน้าที่เป็นสื่อด้วยตัวเอง ไม่ต้องพึ่งสื่อสารมวลชน เขาสามารถสื่อสารกันเองในกลุ่มเล็กๆ หรือกลุ่มใหญ่ก็ได้ ถ้าเรื่องไหน เป็นที่ถูกใจ ของชาวบล็อก ชาวเน็ต คนๆ นั้น อาจจะดังได้เพียงชั่วข้ามคืน โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยสื่อหลักช่วยเลย



ลักษณะของสื่อใหม่
  • กลุ่มผู้รับสารจะมีขนาดเล็ก
  • มีลักษณะเป็น Interactive
  • ผู้ส่งสาอาจไม่จำเป็นต้องสนใจเรื่องรายได้ มีแรงจูงใจด้านอื่น เช่น ความมีชื่อเสียง, ความชอบส่วนตัว
  • เป็นการสื่อสารแบบเปิด ผู้รับ ผู้ส่ง มีความเท่าเทียมกัน
  • เกิดความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ หลากหลาย
cr.http://www.oknation.net/blog/manual/2006/12/22/entry-4



ประโยชน์ของ blog

Blog มีไว้เพื่อตอบสนองตัณหาของเจ้าของ blog ถึงแม้ว่า blog จะมีลักษณะหน้าตาคล้ายกัน แต่ blog แต่ละแห่งจะมีบุคลิกเฉพาะตัว แตกต่างกันไปเหมือนบุคลิก บาง blog แค่เล่าเรื่องชีวิตประจำวัน บาง blog เกาะติดข่าว บาง blog คุยเรื่องการเมืองหรือปรัชญา จงนั้นอาจแบ่งประโยชน์ได้หลายแบบด้วยกัน ซึ่งอาจจะแจกแจงได้ดังนี้

         1.เปิดตัวเองให้โลกรู้ เรื่องของ blog มักเป็นเรื่องราวของเจ้าของ blog เป็นการเล่าประสบการณ์หรือความคิดของเจ้าของ เป็นการถ่ายทอดความคิดความรู้สึกของเจ้าของ blog เป็นการระบายความเคลียดอีกทางหนึ่ง

         2.ทันข่าวทันเหตุการณ์ ประสบการณ์บางคนก็เป็นข่าวเห็นอีกหลายคนได้ ข่าวจาก blog หลายแห่งเป็นข่าววงใน บางคนเล่าเหตุการณ์หรืออุบัติเหตุที่เจอมา หลาย blog พูดถึงแนวโน้มหรือความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ

        3. กลั่นกรองข้อมูล blog บาง blog จะมีการกลั่นกรองข้อมูลก่อนนำลง blog ทำให้ผู้อ่าน blog ไม่ต้องเสียเวลาในการกลั่นกรองข้อมูล เพราะมีการนำเสนอข้อมูลหรือมีไกด์ในการท่องเว็บ


        4. รายงานการท่องเว็บ เป็นวัตถุประสงค์หลักที่เป็นต้นกำเนิดของการทำ blog หลาย blog มีการลิงก์ไปยังเว็บที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาใน blog ซึ่งเป็นการแนะนำว่าเว็บไหนดีก็ไปที่เว็บนั้น

        5. การแสดงความคิดเห็น ไม่ว่าจะเป็นความในใจของเรื่องต่างๆ ความคิดเชิงสร้างสรรค์ หรือการบ่นที่ทุกคนมีอยู่ในใจ การทำ blog เป็นช่องทางถ่ายทอดความคิดเห็นให้คนอื่นรับรู้

        6. ถ่ายทอดประสบการณ์ หรือไดอะรี่ออนไลน์ เป็นการถ่ายทอดเรื่องราวในชีวิตประจำวัน หรือเป็นการเล่าเรื่องการเดินทางท่องเที่ยว เช่น www.terrystrek.com 

         7.โน้มน้าวใจผู้อ่าน ลักษณะนี้เป็นการโฆษณาชวนเชื่อ แต่กรณีแบบนี้เป็นการขายความคิด อย่าง blog สำหรับคอการเมืองอาจจะมีฝ่ายซ้าย - ฝ่ายขวา,สายเหยี่ยว ­- สายพิราบ จะพบว่าเนื้อหาจะเป็นการโพสต์โจมตีฝ่ายตรงข้าม แล้วก็สนับสนุนแนวความคิดของตนเอง
cr.http://jingjai-21.blogspot.com/